วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2551

บทที่ 2 wireless รู้จักซะ?????


ในการทำงาน Event มีศัพท์เทคนิคมากมาย พอๆกับวงการแพทย์เลยทีเดียว แต่จะเป็นคำศัพท์ที่ใช้กันอยู่ประจำ แต่ละบริษิท event จะเรียกไม่เหมือนกันแต่จะไม่ค่อยต่างกันเท่าไหร่ วันนี้ผมมีเรื่องของ Wireless มาให้รู้จักกัน แต่ก่อนจะไปรู้จักกันจริงๆจังๆมีเรื่องขำๆเล่าให้ฟัง

แอบแว็บไปเป็น Back stage งานนึง นานมาแล้วละวันนั้นพิธีกรคือ พี่ดู๋ สัญญา คุณากร บริษัท Organizer คือ CMO (ตอนนั้น CM ยังไม่ได้เป็นบริษัทมหาชน เหมือนตอนนี้นะครับ ตามที่ผู้เขียนเข้าใจ CMO น่าจะเป็น 1ใน Top 3 ของ Organizer เมืองไทยเวลานี้ ไว้มีเวลาจะเล่ารื่อง CM ที่ผมรู้จักเล็กน้อยให้ฟังนะครับ)เรื่องมีอยู่ว่า น้องคนนึงสมมุติว่าชื่อ นพ แล้วกันนะครับ เดิมทีน้องคนนี้มีหน้าที่เป็นสวัสดิการ คอยส่งข้าวส่งน้ำให้ทีมงาน (น้องคนนี้เป็น Freelance นะครับ) อยู่ดีคืนดีได้รับมอบหมายจากหัวหน้าทีม Back stage ในตอนนั้น สมมุติ ว่าชื่อต๋องแล้วกันนะครับ ให้เป็น ผู้ช่วย Back stage ฝั่งซ้าย ซึ่งหน้าที่หลักคอยตามนักแสดง และศิลปิน รวมทั้งพิธีกรด้วย งานนี้ถูกจัดขึ้นที่ โรงแรมเอราวัน บริเวณด้านหน้า Foyer จัดเป็น Exhibition สิ้นค้าของบริษัทิ ด้านในมีการแถลงเปิดสิ้นค้าตัวใหม่ และมีการแสดงโชว์ต่างๆ งานเริ่มมาได้ครึ่งทางพี่ดู๋ออกมานั่งพัก กำลังขึ้นเวที (เดี๋ยวเล่าต่อนะครับ)

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ต่อ บทที่1

ซึ่งการเรียกขานนั้นง่ายมาก เช่นแบบที่ 1
เรียก Stage ซ้าย, Stage ขวา, Stage กลาง (อาจจะมีซ้าย บน ซ้ายล่าง ซ้ายกลาง แล้งแต่จำนวนการเข้าออกของเวที) แบบนี้เรียกตามการหันหน้าเข้า เวที จากControl ซึ่งผู้เขียนเข้าใจว่า Show Director ที่จะ Runshow อยู่บน Control เรียกได้ถนัด บางคนอาจแย้งว่าเรียกซ้าย ขวาตามการหันหน้าออกเวที อันนี้ก็เคยเจอมาเหมือนกันส่วนใหญ่เป็นพวกที่เติบโตจากสายงานละครเวที ไม่ใช่ Special event โดยตรง แต่สายงาน Event จะเรียกชื่อตาม Show Director ถนัดเป็นหลัก อย่าไปซีเลียดส์เพราะส่วนใหญ่เวลา Runshow ถ้าทีมงานสนิทกันจะเรียกชื่อซะส่วนใหญ่
แบบที่ 2
เรียกโดยการตั้งชื่ออักษรภาษาอังกฤษแทน เช่น Stage A, Stage B, Stage Center หรือ A1 A2 B1 B2 แล้วแต่จำนวนทางเข้าออกเวที บางครั้งเวทีวงดนตรีแยกออกมาต่างหาก ก็เรียก Band Stage อัน Stage A, B เหล่านี้นิยมใช้ในงาน คอนเสริต ต่างๆ เท่าที่เห็นการเรียกขานแบบนี้ GMM นิยมใช้

ทั้งนี้ Back Stage 95 % เป็น Freelance จึงนิยมเรียกตามบริษัทผู้ว่าจ้าง Back Stage เก่งๆ จะสามารถปรับตัวได้ทุกสถานการณ์จึงไม่ค่อยสนใจวิธีการเรียกเท่าใหร่
ยอมรับนะครับเรื่องคิวบนเวที บางที่ Back Stage เก่งกว่า Producer ใหม่ๆบางคนอีก ประสบการณ์การทำคิวสดบนเวที ถ้าได้ Back Stage มือดีเข้าใจงาน Show Director ก็จะไม่เหนื่อยง่าย (แล้วค่อยคุยกันต่อนะครับ)